กิจกรรม

การใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศเพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ลักษณะโครงการ กรอบการใช้ประโยชน์ กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทร รหัสโครงการ F2A4

การใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศเพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.2.1 เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) 1.2.2 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบใบทุเรียนเทศ เพื่อการป้องกันกำจัดโรค แอนแทรกโนสพริกที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp. 1.2.3 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดทุเรียนเทศและพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์ในการควบคุมเพลี้ยไฟพริก 1.2.4 เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากชีวภัณฑ์ทุเรียนเทศ ในการป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนสและเพลี้ยไฟพริก

ขอบเขตของโครงการ
เก็บรวบรวมใบทุเรียนเทศ และผลิตสารสกัดใบทุเรียนเทศ รูปแบบสารสกัดหยาบ สารสกัดหยาบใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp. ในอาหารทดสอบทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบทุเรียนเทศในการควบคุมเพลี้ยไฟพริก

สรุปผลและข้อเสนอแนะ
1. การใช้ประโยชน์สารสกัดใบทุเรียนเทศเพื่อป้องกันกำจัด Colletotrichum spp. เชื้อสาเหตุโรคแอนแทรกโนสพริกสารสกัดหยาบจากใบทุเรียนเทศที่ระดับความเข้มข้น 7 เปอร์เซ็นต์ สามารถยับยั้งเจริญเติบโตของเชื้อรา Colletotrichum spp. ที่ระยะเวลา 5 วันได้ดีที่สุด การยับยั้งเท่ากับ 73.04 เปอร์เซ็นต์ และที่ระยะเวลา 7 วันการยับยั้งเท่ากับ 69.29 เปอร์เซ็นต์ แนวทางการประยุกต์ใช้สารสกัดใบทุเรียนเทศเพื่อป้องกันกำจัดเชื้อ Colletotrichum spp. ในพริก เกษตรกรควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการใช้ร่วมกับวิธีเขตกรรม เช่น การไถดินตากแดด การปลูกพืชหมุนเวียน หรือการใช้สารเคมีควบคู่กันไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะทำให้ผลผลิตพริกมีความปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคได้อย่างยั่งยืน 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดทุใบเรียนเทศควบคุมเพลี้ยไฟพริกสารสกัดใบทุเรียนเทศความเข้มข้นตั้งแต่ 20 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป สามารถควบคุมเพลี้ยไฟพริกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มองค์ประกอบของผลผลิตพริกทั้งน้ำหนักและความยาวผลการประยุกต์ใช้สารสกัดจากใบทุเรียนเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสูด เกษตรกรควรหมั่นสำรวจการระบาดของเพลี้ยไฟพริกอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้สารสกัดใบทุเรียนเทศในช่วงที่เพลี้ยไฟมีจำนวนไม่เกิน 5 ตัว/ยอดและควรฉีดพ่นสารสกัดช่วงเย็นเพื่อป้องกันการสลายตัวโดยแสงแดด

ปีงบประมาณ 2566

หัวหน้าโครงการ รองศาสตราจารย์ ดร.พรศิลป์ สีเผือก

หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์