กิจกรรม
การอนุรักษ์พันธุกรรมทุเรียนเทศภายในหลอดทดลอง
ลักษณะโครงการ กรอบการใช้ประโยชน์ กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทร รหัสโครงการ F2A4วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)
2. หาวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการอนุบาลต้นกล้าทุเรียนเทศที่ได้จากหลอดทดลอง
ขอบเขตของโครงการ
ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการอนุบาลต้นกล้าทุเรียนเทศ โดยนำเมล็ดทุเรียนเทศจากพื้นที่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาทำการเพาะและปลูกในวัสดุปลูกที่แตกต่างกัน ในโรงเรือนเพาะชำไม้ผลสาขาพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
การทดลองที่ 1 การศึกษาวัสดุเพาะต่อการงอกของเมล็ดทุเรียนเทศ
สิ่งทดลองที่ 1 ดิน:ขุยมะพร้าว (1:1) มีเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดมากที่สุด 98.5 เปอร์เซ็นต์ และดัชนีความเร็วในการงอกเร็วสุด 3.17 สิ่งทดลองที่ 2 ดิน:ขุยมะพร้าว:ขี้ไก่แกลบ (1:1:1) มีเวลาเฉลี่ยในการงอกของเมล็ดเร็วที่สุด 21.88 วัน
การทดลองที่ 2 การศึกษาวัสดุปลูกต่อการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของต้นกล้าทุเรียนเทศสิ่งทดลองที่ 5 ดินผสม มีความสูงต้น ความกว้างใบ และความยาวใบสูงสุดอยู่ที่ 41.75 3.87 และ 9.05 เซนติเมตร ตามลำดับสิ่งทดลองที่ 2 ดิน:ขุยมะพร้าว:ขี้ไก่แกลบ (1:1:1) มีจำนวนใบมากที่สุดอยู่ที่ 25.9 ใบ
ข้อเสนอแนะ
สำหรับการเพาะเมล็ดทุเรียนเทศจากการทดลองแนะนำเป็นสิ่งทดลองที่ 1 ดิน:ขุยมะพร้าว (1:1) ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ด ดัชนีความเร็วในการงอกของเมล็ดดีที่สุด และให้ต้นทุเรียนเทศที่สมบูรณ์ที่สุด สำหรับการย้ายเลี้ยงต้นกล้าแนะนำ 2 แบบ คือ สำหรับการผลิตกล้าปลูกเชิงการค้าแนะนำเป็นสูตรที่ 5 ดินผสม เพราะประหยัดเวลา สามารถซื้อมาและใช้ได้ทันที แต่อาจมีต้นทุนที่สูง สำหรับเกษตรกรที่ทำการขยายพันธุ์เองควรเลือกใช้สูตรที่ 2 ดิน:ขุยมะพร้าว:ขี้ไก่แกลบ (1:1:1) เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาง่ายในพื้นที่และราคาถูก ซึ่งทั้ง 2 สูตรให้ต้นแข็งแรงสมบูรณ์เช่นเดียวกัน
ปีงบประมาณ 2566
หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกุลรัตน์ หาญศึก
หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์