กิจกรรม
สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มจากทุเรียนเทศ
ลักษณะโครงการ โครงการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มจากทุเรียนเทศ รหัสโครงการ F2A4วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสนองพระราชด าริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด าริฯ (อพ.สธ.)
2. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทุเรียนเทศในรูปแบบของการผลิตเป็นชาใบทุเรียนเทศหมัก
3. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าชาหมักใบทุเรียนเทศให้กับชุมชน
ขอบเขตของโครงการ
1. การหาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตชาหมักใบทุเรียนเทศ คัดแยกเชื้อและหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิต
2. การตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพของชาหมักใบทุเรียนเทศที่ผลิตได้ ทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ
3. ผลิตชาหมักใบทุเรียนเทศและถ่ายทอดความรู้ ผลิตชาหมักและถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงเห็ด
หลินจือ วิสาหกิจชุมชนหนานตาทองฟาร์ม
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
1.การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตชาหมัก
1.1 สตาร์ทเตอร์ น้ าตาล และใบชา แต่ละปัจจัยล้วนส่งผลต่อน้ าหนักสดของแผ่นเซลลูโลส และสตาร์ทเตอร์เมื่ออยู่ร่วมกับใบชาปริมาณมากจะส่งผลให้มีความสัมพันธ์ร่วมกันต่อการผลิตเซลลูโลสอย่างมีนัยสำคัญ 1.2 น้ำตาลเป็นปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อความหวานของชาใบทุเรียนเทศหมักอย่างมีนัยสำคัญ 1.3 น้ำตาลส่งผลต่อค่าพีเอช และสตาร์ทเตอร์และน้ำตาลมีความสัมพันธ์ร่วมกันต่อการเปลี่ยนแปลงค่าพีเอชอย่างมีนัยสำคัญ 1.4 สภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อการผลิตชาหมักใบทุเรียนเทศคือปริมาณสตาร์ทเตอร์ 15% น้ำตาล 15% และชาซองที่ใช้ 1 ซอง สามารถให้หนักแผ่นเซลลูโลส 28.64 กรัม ค่าพีเอช 3.43 ความหวาน 9.08 บริกซ์ และ % แอลกอฮอล์ที่ 4.45
2. การทดสอบความพึงพอใจของชาหมักในด้านต่างๆ พบว่า
2.1 ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อความชอบโดยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ
3.31)
2.2 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กังวลเรื่องสุขภาพเป็นบางครั้ง จำนวน 15 คน (ร้อยละ 50.0)
2.3 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ควบคุมการรับประทานอาหาร จำนวน 21 คน (ร้อยละ 70.0)
2.4 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เน้นโภชนาการและดีต่อสุขภาพ จำนวน 20 คน (ร้อยละ
66.7)
2.5 ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อความเข้มข้นของรสชาติในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.10)
ปีงบประมาณ 2565
หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังคณา ใสเกื้อ
หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี