กิจกรรม
การอนุรักษ์พันธุกรรมทุเรียนเทศภายในหลอดทดลอง
ลักษณะโครงการ กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร รหัสโครงการ F2A4วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสนองพระราชด าริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด าริฯ (อพ.สธ.)
2. เก็บรวบรวมสายพันธุ์ทุเรียนเทศในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชภายในหลอดทดลอง
ขอบเขตของโครงการ
ศึกษาวิธีการในการอนุรักษ์พันธุกรรมทุเรียนเทศในหลอดทดลอง โดยเก็บตัวอย่างชิ้นส่วน
ทุเรียนเทศจากพื้นที่ อ าเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาท าการทดลองในห้องปฏิบัติการ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สาขาพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยา
เขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย
1. การทดลองที่ 1 ศึกษาสูตรอาหารในการพัฒนาไปเป็นต้นภายในหลอดทดลอง
1.1 ศึกษาระดับความเข้มข้นของ BA ต่องอกหรือการแตกยอดใหม่ของทุเรียนเทศ
1.1.1 ชิ้นส่วนที่เหมาะสำหรับการทดลองคือ ชิ้นส่วนปลายยอดและตาข้างของทุเรียนเทศ
1.1.2 สูตรอาหารที่เหมาะสำหรับการวางเลี้ยงชิ้นส่วนทุเรียนเทศคือ อาหารสูตร MS เติม
BA เข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร
1.1.3 ชิ้นส่วนปลายยอด และตาข้าง ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารที่ไม่เติมผงถ่านให้การปลอดเชื้อ
และการตอบสนองต่อการเพาะเลี้ยง รวมถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของชิ้นส่วนพืชดีกว่าอาหารที่เติมผงถ่าน
1.2 ศึกษาชนิดของอาหารที่เหมาะสมต่อการเพิ่มปริมาณยอดรวมในหลอดทดลอง
อาหารที่เหมาะส าหรับการเพิ่มปริมาณยอดคืออาหารเหลวสูตร MS เติม BA เข้มข้น 2
มิลลิกรัมต่อลิตร
ข้อเสนอแนะ
ในการด าเนินการทดลองการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทุเรียนเทศจ าเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการ
เพาะเลี้ยงให้นานกว่านี้หรือไม่ต่ ากว่า 1 ปี เนื่องจากทุเรียนเทศเป็นพืชกลุ่มไม้ผล ในเนื้อเยื่อมียาง มีผลทำให้มีการตอบสนองต่ออาหารที่วางเลี้ยงช้ามาก จึงต้องเสียเวลารอให้ต้นมีการเจริญเติบโตในระยะที่เหมาะสมต่อการทดลองต่อไป ดังนั้นทางผู้วิจัยจึงคิดว่า น่าจะต้องใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทุเรียนเทศให้มากกว่านี้หรือไม่ต่ำกว่า 1 ปี
ปีงบประมาณ 2565
หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกุลรัตน์ หาญศึก
หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์