กิจกรรม
การใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศเพื่อการป้องกันก าจัดศัตรูพืช
ลักษณะโครงการ กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร รหัสโครงการ F2A4วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)
2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดใบทุเรียนเทศ และพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์เพื่อการป้องกัน
กำจัดเชื้อสาเหตุก่อโรคพืชในดิน
3. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบทุเรียนเทศ และพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์สารสกัดอัดเม็ดในการควบคุมด้วงงวงข้าวโพด
1.2.4 เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากชีวภัณฑ์สารสกัดจากใบทุเรียนเทศในการป้องกันกำจัดเชื้อสาเหตุก่อโรคพืชในดิน และด้วงงวงข้าวโพด
ขอบเขตของโครงการ
เก็บรวบรวมใบทุเรียนเทศ และผลิตสารสกัดใบทุเรียนเทศในรูปแบบสารสกัดหยาบ น าสารสกัดหยาบ
มาทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันก าจัดโรคเหี่ยวของพริกที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium solani ในอาหารทดสอบและในดินปลูก และทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมด้วงงวงข้าวโพด พร้อมทั้งพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์
ป้องกันก าจัดศัตรูพืชทั้งสองชนิด
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
1. การใช้ประโยชน์จากใบทุเรียนเทศเพื่อป้องกันกำจัด F. solani เชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน
สารสกัดหยาบจากใบทุเรียนเทศที่ระดับความเข้มข้น 100,000 ppm สามารถยับยั้งเจริญเติบโตของเชื้อรา F. solani ได้ การยับยั้งดีที่สุดที่ระยะเวลา 5 วัน การยับยั้งเท่ากับ 47.03 % โดยที่สารสกัดหยาบใบทุเรียนเทศที่ระดับความเข้มข้น 150,000 ppm สามารถลดปริมาณเชื้อราในดินจำลองได้ ปริมาณเชื้อราเมื่อครบระยะเวลาทดสอบ เท่ากับ 4.95 x 105 cfu/g ใกล้เคียงกับชุดควบคุม (น้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ) เท่ากับ 6.10 x 105 cfu/g อย่างไรก็ตามแนวทางการประยุกต์ใช้สารสกัดทุเรียนเทศเพื่อป้องกันกำจัดเชื้อ F. solani ในดิน
แปลงปลูกพืชเกษตรกร ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แนวทางการใช้ร่วมกับวิธีเขตกรรม เช่น การไถดินตากแดดและการปลูกพืชหมุนเวียน จะสามารถลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินได้อย่างยั่งยืน
2. การใช้ประโยชน์จากใบทุเรียนเทศเพื่อป้องกันก าจัดด้วงงวงข้าวโพดสารสกัดหยาบจากใบทุเรียนเทศสามารถน ามาใช้ควบคุมด้วงงวงข้าวโพด โดยมีพิษทางการรมต่อแมลง
ซึ่งประสิทธิภาพของสารสกัดขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและระยะเวลาในการทดสอบ โดยสารสกัดความเข้มข้น 40% มีพิษทางการรมสูงสุดท าให้ด้วงงวงข้าวโพดตาย 92.50 % ในระยะเวลา 4 วัน นอกจากนี้การพัฒนาชีวภัณฑ์สารสกัดจากใบทุเรียนเทศอัดเม็ดจากสูตรแป้งเปียก + สารสกัด 40 % อัดด้วยการบูร + แป้งข้าวโพด (3:7) จำนวน 9 เม็ด ยังสามารถควบคุมด้วงงวงข้าวโพดได้ 96.03% ระหว่างการเก็บรักษาข้าวสารหอมมะลิ
อินทรีย์นาน 6 เดือน อย่างไรก็ตามควรศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อข้าวสารที่มีการใช้ชีวภัณฑ์ รวมทั้งพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์รูปแบบอื่นๆที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ง่าย เพื่อให้การใช้ชีวภัณฑ์สารสกัดจากใบทุเรียนเทศเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมด้วงงวงโพด และเป็นวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
ปีงบประมาณ 2565
หัวหน้าโครงการ รองศาสตราจารย์ ดร.พรศิลป์ สีเผือก
หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์