กิจกรรม

อนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมุนไพรกระตุ้นภูมิคุ้มกันและต้านเชื้อโรคในสภาพสวนป่าธรรมชาติ

ลักษณะโครงการ สำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร รหัสโครงการ F1A2

อนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมุนไพรกระตุ้นภูมิคุ้มกันและต้านเชื้อโรคในสภาพสวนป่าธรรมชาติ

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) โดย การรวบรวมพันธุ์สมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย รักษาโรค และต้านเชื้อโรค 2. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรให้แก่เยาวชน 3. เพื่อศึกษาผลของการปลูกสมุนไพรแบบสวนป่าธรรมชาติต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต

ขอบเขตของโครงการ
7.1 รวบรวมพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ เพื่อสุขภาพมาปลูกเพื่อการขยายพันธุ์ ในสภาพ สวนป่า 7.2 ศึกษาการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และการใช้ประโยชน์เบื้องต้น ในการป้องกันรักษาโรค 7.3 จัดอบรมโครงการโดยมีการบรรยายจากวิทยากร ผศ.ดร.เสาวณีย์ ชัยเพชร เพื่อสร้างจิตสำนึกในการ อนุรักษ์พืชสมุนไพรการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรมีการอบรมให้แกนักศึกษา และบุคลากร ได้เรียนรู้เรื่องสมุนไพร กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพร เช่น อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ 7.4 ดำเนินการสร้างสวนสมุนไพรแบบสวนป่าและแปลงปลูกสมุนไพรมะม่วงหาวมะนาวโห่โดยนักศึกษา และบุคลากรที่เข้าร่วมอบรมในโครงการ 7.5 ปลูกพืชสมุนไพรมะม่วงหาวมะนาวโห่ จำนวน 200 ต้น และสมุนไพรชนิดอื่น 20 ชนิด

สรุปผลและข้อเสนอแนะ
9.1 นักศึกษาและบุคลกรได้เรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าของสมุนไพร 9.2 นักศึกษาได้รู้กระบวนการผลิตสมุนไพรแบบยั่งยืน 9.3 ได้สวนป่าสมุนไพรที่มีพันธุ์สมุนไพรมากกว่า 20 ชนิด จำนวนมากกว่า 200 ต้น พร้อมจัดทำป้าย บอกชื่อสมุนไพร และสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ชั่วคราวเพื่อพัฒนาเป็นป้ายที่คงทนถาวรต่อไป 9.4 อนาคตอาจจะขยายเป็นแหล่งเรียนรู้สู่ชุมชน โดยมีการจัดอบรมความรู้องค์รวมของพืชสมุนไพรให้ ชุมชน เช่น การปลูก การขยายพันธุ์ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าให้กับ สมุนไพร 9.5 ในส่วนของพื้นที่โครงการสวนสมุนไพรน่าจะขยายพื้นที่ และเพิ่มชนิดพันธุ์และจำนวนสมุนไพรให้ มากขึ้น

ปีงบประมาณ 2563

หัวหน้าโครงการ นายชลชาสน์ ช่วยเมือง

หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์