กิจกรรม
โครงการการใชประโยชนทุเรียนเทศเพื่อการปองกันกําจัดศัตรูพืช (เหยื่อพิษสำเร็จรูปที่มีส่วนผสม ของน้ำมันหอมระเหยจากใบทุเรียนเทศกำจัดปลวกใต้ดิน)
ลักษณะโครงการ อนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช รหัสโครงการ F2A4วัตถุประสงค์ของโครงการ
4.1 เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.)
4.2 เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์เหยื่อพิษที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบ
ทุเรียนเทศในการควบคุมปลวกใต้ดิน
4.3 เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเหยื่อพิษที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบ
ทุเรียนเทศในการควบคุมปลวกใต้ดิน
ขอบเขตของโครงการ
สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช-มงคล
ศรีวิชัย อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
การใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศเพื่อการควบคุมปลวกใต้ดินสายพันธุ์ C. curvignathus ซึ่งเป็นแมลงศัตรู
สำคัญของสวนยาง โดยการนำน้ำมันหอมระเหยจากใบทุเรียน ซึ่งได้จากวิธีการกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ มาคัดเลือก
อัตราส่วนที่ผสมด้วยน้ำมันหอมระเหยเปลือกส้มโอ หรือน้ำมันหอมระเหยกานพลู และนำอัตราส่วนดังกล่าวที่
คัดเลือกได้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เหยื่อพิษ โดยพบน้ำมันหอมระเหยจากใบทุเรียนเทศผสมกับน้ำมันหอมระเหย
จากดอกกานพลูในอัตราส่วน 25:75 มีพิษทางการกินและสัมผัสต่อปลวก C. curvignathus สูงสุด และปลวกที่
ได้รับน้ำมันหอมระเหยจากใบทุเรียนเทศผสมกับน้ำมันหอมระเหยจากดอกกานพลูในอัตราส่วน 25:75 สามารถ
ถ่ายทอดพิษไปสู่ปลวกงานปกติได้ เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเหยื่อพิษที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย
จากใบทุเรียนเทศและดอกกานพลูในอัตราส่วน 25:75 ระหว่างเหยื่อพิษที่เป็นขี้เลื่อยอัดแท่งกับไม้ยาง พบว่า
เหยื่อพิษที่เป็นไม้ยางมีประสิทธิภาพในการควบคุมปลวกใต้ดินสายพันธุ์ดังกล่าวสูงกว่าเหยื่อพิษที่เป็นขี้เลื่อยอัด
แท่ง และยังพบว่าผลิตภัณฑ์เหยื่อพิษไม้ยางที่เก็บรักษาไว้เป็นเวลา 3 เดือนยังคงมีประสิทธิภาพในการควบคุม
ปลวกได้ดี เป้าหมายการดำเนินงานในปีต่อไป คือ ทดสอบประสิทธิภาพของไม้ยางเหยื่อต่อการควบคุมปลวกใน
สภาพสวนยาง นอกจากนี้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยต่อปลวกใต้ดินสายพันธุ์
C.
curvignathus รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กำจัดปลวกให้มีรูปแบบที่สามารถเก็บรักษาได้ง่าย มี
ประสิทธิภาพคงทน สามารถนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เทียบเคียงได้กับผลิตภัณฑ์จากสารเคมีสังเคราะห์ เพื่อช่วยให้
เกษตรกรและผู้ใช้สามารถหลีกเลี่ยงและมีความปลอดภัยจากการใช้สารฆ่าแมลง ซึ่งอาจทำให้ชุมชนได้เล็งเห็นถึง
ความสำคัญในการเลือกใช้พืชท้องถิ่น คือทุเรียน นำไปสู่การอนุรักษ์พันธุกรรมทุเรียนเทศให้อยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืนนอกจากนี้ยังมีเป้าหมายการตีพิมพ์เผยแพร่ เพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการ และจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร
นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจ
ปีงบประมาณ 2563
หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชราภรณ์ วาณิชย์ปกรณ์
หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์